วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556



การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
กษมา  ศรีสุวรรณ
นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา
มหารวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช                                                                              
การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เป็นเรื่องของการศึกษาว่า องค์การที่รับผิดชอบสามารถนำและกระตุ้นให้ทรัพยากรทางการบริหาร ตลอดจนกลไกที่สำคัญในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามนโยบายที่วางไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ความสามารถที่จะผลักดันให้การทำงานของกลไกที่สำคัญทั้งหมดบรรลุผลได้ดังเป้าหมายที่วางไว้เป็นสิ่งสำคัญมาก  นักการศึกษาชั้นนำ วอลเตอร์ วิลเลี่ยม( Walter Williams) คาร์ล แวน ฮอร์น (Carl E. Van Hom) โดนัลด์ มีเตอร์ (Donald S. Van Meter)  เจฟฟรีย์ เพรสแมน  (Jeffrey Pressman)และ อารอน วิคดัฟสกี้ (Aaron Wildavshy) ได้เห็นพ้องต้องกันถึงกรอบความเข้าใจของการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมถึงพฤติกรรมและการปฏิบัติ ปฏิสัมพันธ์ของบุคคล กลุ่มบุคคล สมรรถนะ และความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สภาวะแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ความแตกต่างในสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ ท้องถิ่น ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในนโยบาย
การตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคมโดยส่วนรวมให้เป็นที่พึงพอใจอย่างทั่วถึง ย่อมทำได้ยาก เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวของแผนงาน โครงการ หรือแนวทางปฏิบัติที่รัฐบาลจัดทำขึ้นมา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องพื้นฐานและปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในขั้นลงพื้นที่ (วรเดช จันทรศร, 2551      )ขึ้นอยู่กับความยินยอมให้ความร่วมมือของผู้ปฏิบัติตามนโยบาย หัวหน้า กลุ่มคน บุคคล หรือแม้แต่อำนาจของผู้ปฏิบัติ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องให้การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ หรือการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติประสบความสำเสร็จหรือล้มเหลว การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติถือเป็นขั้นตอนย่อยหนึ่งของขั้นตอนหลักเรื่อง การนำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันให้นโยบายได้รับการรับรู้ เข้าใจ ยอมรับและสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้ปฏิบัติตามนโยบายและผู้ได้รับ การรับรู้ เข้าใจ ยอมรับและสร้างทัศนคติที่ดีต่อ ผู้ปฏิบัติตามนโยบายและผู้ได้รับผลจากนโยบาย อันจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้นโยบายได้รับความสำเร็จในที่สุด ในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ผู้มอบและผู้รับนโยบายจะต้องมีความชัดเจนเรื่ององค์ประกอบของนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รับนโยบายจะต้องเข้าใจและสามารถแปลความหมายของนโยบายได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากโดยทั่วไปนโยบายอาจจะมีลักษณะที่ขาดความชัดเจนในตัวเองอยู่บ้าง กล่าวคือ นโยบายส่วนหนึ่งมีลักษณะเป็นเชิงอุดมการณ์ นโยบาย บางครั้งผู้กำหนดทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น คือมีลักษณะเป็นเชิงทางเลือก และนโยบายที่ดีจะมีความชัดเจนถึงขั้นที่บอกแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนด้วย คือมีลักษณะเป็นเชิงมาตรการ ในเรื่ององค์ประกอบของนโยบายนี้จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายหรือผู้มอบนโยบายตระหนักถึงความชัดเจนในนโยบาย ที่ตนกำหนดขึ้น อันจะทำให้ผู้รับนโยบายเกิดความเข้าใจชัดเจนง่ายต่อการรับนำไปตีความและจัดทำเป็น นโยบายรอง และแผนปฏิบัติง่ายขึ้นในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้ผู้รับนโยบายสามารถแยกแยะส่วนสำคัญของนโยบายและแปลความหมายได้ถูกต้องชัดเจนง่ายขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหญ่ให้เป็นนโยบายย่อยก็ดี การแปลงนโยบายให้เป็นแผนปฏิบัติก็ดีจะต้องจัดวัตถุประสงค์แนวทางดำเนินการและกลไกให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน
ขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1.ระดับของนโยบาย
โดยทั่วไปนโยบายมักมีหลายระดับ ลดหลั่นกันไปตามระดับการบังคับบัญชารับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติจึงต้องมีการจัดระดับของนโยบายตามแนวดิ่งและแบ่งซอยขอบเขตของนโยบาย ลดหลั่นตามความรับผิดชอบของระดับหน่วยงานดังกล่าวด้วย การแบ่งโดยอาจแบ่งซอยขอบเขตของนโยบายตามกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ เนื้อหาสาระ หรือวิธีอื่นๆก็ได้ ในการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัตินี้ ผู้มอบและผู้รับนโยบายจะต้องมีความชัดเจนเรื่ององค์ประกอบของนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รับนโยบายจะต้องเข้าใจและสามารถแปลความหมายของนโยบายได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายอาจมีลักษณะที่ขาดความชัดเจนในตัวเองอยู่บ้าง กล่าวคือนโยบายส่วนหนึ่งมีลักษณะเป็นเชิงอุดมการณ์ แต่ในบางครั้งผู้กำหนดนโยบาย ทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น คือมีลักษณะเป็นเชิงทางเลือก นโยบายที่ดีจะมีความชัดเจนถึงขั้นที่บอกแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนด้วย คือมีลักษณะเป็นเชิงมาตรการ อันจะทำให้ผู้รับนโยบายเกิดความเข้าใจชัดเจนง่ายต่อการรับนำไปตีความและจัดทำเป็นนโยบายรอง และแผนปฏิบัติง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้ผู้รับนโยบายสามารถแยกแยะส่วนสำคัญของนโยบายและแปลความหมายได้ถูกต้องชัดเจนง่ายขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงนโยบายใหญ่ให้เป็นนโยบายย่อยก็ดี การแปลงนโยบายให้เป็นแผนปฏิบัติก็ดี จำเป็นต้องจัดวัตถุประสงค์ แนวทางดำเนินการและกลไกให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยสรุปแล้วจะเห็นว่า นโยบายมีหลายระดับตามระดับการบังคับบัญชา ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความเข้าใจและสามารถแปลความหมายของนโยบายได้ว่า สิ่งใดเป็นนโยบายหลัก สิ่งใดเป็นนโยบายรอง และสามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
2. ขั้นตอนการดำเนินการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
ในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ผู้รับนโยบายระดับกลางโดยทั่วไปจะทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ 1) นำนโยบายมาจัดทำเป็นแผนสำหรับหน่วยงานของตนเองเป็นผู้ปฏิบัติ และ 2) กำหนดนโยบายหรือแผนให้หน่วยงานระดับล่างลงไปรับไปปฏิบัติ ส่วนผู้ปฏิบัติระดับล่างจะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ ทั้ง 2 อย่างต่อไปนี้คือ 1) นำนโยบายจากหน่วยเหนือมาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติ และ 2) รับแผนของหน่วยเหนือมาปฏิบัติ ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการขึ้นด้วยก็ได้ ดังนั้นผู้รับมอบนโยบายจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายและแผน และสามารถแปลความหมายของนโยบายแล้วเชื่อมโยงมาสู่การทำแผนให้ได้ ในการแปลงนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติอาจจะมีการกำหนดนโยบายย่อย หรือนโยบายรองให้หน่วยงานระดับล่างรับไปดำเนินการ แต่ในท้ายที่สุดจำเป็นต้องมีแผนเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ
การนำนโยบายสู่การปฏิบัติจึงมีกิจกรรมอย่างน้อย 4 เรื่องคือ
(1) การตีความวัตถุประสงค์ในนโยบาย แล้ววิเคราะห์แยกแยะเป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายย่อยๆ ลงไปเพื่อให้เป้าหมายย่อยเหล่านั้นมีความชัดเจน ปฏิบัติได้ และทุกเป้าหมายที่กำหนดนั้นต่างมุ่งตอบสนองวัตถุประสงค์ของนโยบาย
(2) การขยายความเรื่องแนวทางการบรรลุวัตถุประสงค์ในนโยบาย เพื่อเห็นวิธีการปฏิบัติได้ซึ่งแนวทางเหล่านั้นตอบสนองเป้าหมายของแผนและสอดคล้องกับแนวทางในนโยบายด้วย
(3) การแปลความหมายในส่วนกลไกของของนโยบายออกมาในรูปที่เป็นเครื่องมือและทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ ทั้งนี้ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในแผน ว่าต้องมีอะไรบ้าง จำนวนเท่าใดและคุณภาพอย่างไร
(4) การจัดหาความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของแผน วิธีการปฏิบัติและทรัพยากรที่ใช้ให้ประสาน สอดคล้องกันในลักษณะการคาดการณ์ในอนาคต ซึ่งมีทรัพยากร เวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ นโยบายหนึ่งๆอาจมีการถ่ายทอดลงไปเป็นแผนปฏิบัติมากกว่าแผนหนึ่งก็ได้ และในกรณีเช่นนี้ เพื่อมิให้แต่ละแผนมีลักษณะแตกแยกคนละทิศทาง จำเป็นต้องใช้หลักการประสานแผนกำกับในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง 2 ลักษณะดังนี้คือ
(1) การกำหนดแผนในลักษณะเป็นองค์ประกอบ คือการแยกแยะวัตถุประสงค์ของนโยบายออกมาในรูปที่ทำให้เกิดแผนมากกว่า 1 แผน และแต่ละแผนต้องปฏิบัติพร้อมๆกันไป จะขาดแผนใดแผนหนึ่งไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่บรรลุเป้าหมายของนโยบายเลย
(2) การกำหนดแผนในลักษณะเป็น การสนับสนุน คือมีการแยกแยะวัตถุประสงค์และแนวทางปฏิบัติของนโยบายออกเป็น หลายๆส่วนและแต่ละส่วนมีความเป็นอิสระในตัวเอง แต่สามารถจัดลำดับความสำคัญเป็นส่วนหลัก ส่วนรองไว้ ซึ่งการแยกแยะวัตถุประสงค์ และแนวทางปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้เกิดแผนมากกว่าหนึ่งแผน และแต่ละแผนสามารถทำให้นโยบายบรรลุความสำเร็จได้ในตัวเอง แม้จะขาดแผนอื่นๆ แต่หากมีแผนอื่นๆ ด้วยจะช่วยให้นโยบายบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนขั้นตอนการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติมีลักษณะเป็นการจัดทำนโยบายย่อยรองรับนโยบายใหญ่หรือการจัดทำแผนเพื่อให้เป็นกลไกของนโยบายนั่นเอง ดังนั้นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องทราบถึงขั้นตอนและปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในกระบวนการดังกล่าวด้วย จึงจะทำให้การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติได้ผลดี ขั้นตอนดังกล่าวอาจกำหนดตามลำดับดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์นโยบายของหน่วยเหนือ เพื่อให้สามารถตีความวัตถุประสงค์ แนวทาง และกลไกของนโยบายได้ถูกต้องชัดเจน จำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ถึงนโยบายของหน่วยเหนือที่กำหนดมาการวิเคราะห์ที่ดีอาจจำเป็นต้องศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของนโยบายนั้น แนวความคิดที่อยู่เบื้องหลังของนโยบาย ลักษณะและกระบวนการก่อเกิดของนโยบายการเข้ามามีบทบาทของกลุ่มสถาบัน หรือผู้นำในการกำหนดนโยบาย ผลของการนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติที่ผ่านมา ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพัฒนานโยบายนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยให้สามารถตีความหมาย แยกแยะ คาดการณ์ และขยายความ วัตถุประสงค์ แนวทาง และกลไกลของนโยบายดังกล่าวได้ถูกต้อง ลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์นโยบายและแผนของหน่วยงานปฏิบัติ ผู้นำนโยบายของหน่วยเหนือ จำเป็นต้องทราบว่านโยบายนั้นเป็นนโยบายเก่าหรือใหม่ แต่มีการปรับเปลี่ยนจากนโยบายเดิม และนโยบายนั้นได้มีการถ่ายทอดลงเป็นนโยบายหรือแผนของหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบแล้วอย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะได้นำนโยบายและแผนนั้นมาวิเคราะห์โดยใช้แนวทางเดียวกันกับการวิเคราะห์นโยบายของหน่วยเหนือแต่จะสามารถวิเคราะห์ได้ละเอียดลึกซึ้งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านปัญหาการปฏิบัติและผลของการนำมาปฏิบัติเพื่อจะนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประกอบในการวางแผนต่อไป
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือพื้นที่ที่รับผิดชอบนอกจากนโยบายของหน่วยเหนือ นโยบายและแผนในเรื่องนั้นๆ ของหน่วยงานตัวเองแล้ว ผู้รับนโยบายก่อนจะจัดทำแผนต่อไปจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของประชากร
กลุ่มเป้าหมายหรือปัญหาของพื้นที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะด้าน กล่าวคือ หากหน่วยงานที่ผู้รับนโยบายเป็นระดับอำเภอ ผู้รับนโยบายจำเป็นต้องนำข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการในนโยบายนั้นมาพิจารณา หากยังไม่มีก็จำเป็นต้องเก็บรวบรวมเพิ่มเติม โดยกำหนดกรอบเพื่อให้เป็นแนวทางในการรวบรวมวิเคราะห์ให้ตรงกับประเด็นหลักที่ต้องการ ในการวิเคราะห์อาจแยกแยะให้เห็นสภาพปัญหาและความแตกต่างของกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มต่างๆ หรือแยกแยะตามพื้นที่ทั้ง 2 ด้าน ทั้งนี้เพื่อให้เห็นระดับของสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันและช่องว่างระหว่างเป้าหมายของนโยบายที่หน่วยเหนือต้องการ อันจะนำไปสู่การกำหนดเป้าสำเร็จและความเป็นไปได้ของเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นตลอดจนวิธีปฏิบัติและทรัพยากรที่จะต้องใช้
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยงาน ในการวางแผนเพื่อตอบสนองนโยบายนั้น จำเป็นต้องมีการจำแนกเป้าสำเร็จ แนวทางปฏิบัติและทรัพยากรที่ใช้ของแต่ละหน่วยงานที่รับแผนไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะแต่ละหน่วยงานนอกจากจะมีปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่อาจแตกต่างกันไปแล้ว ยังมีศักยภาพและความพร้อมที่แตกต่างกันไปด้วย ศักยภาพและความพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบาย ความสามารถที่จะปฏิบัติตามนโยบายให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งโดยทั่วไปพิจารณาได้จากปัจจัย 3 ด้านคือ
(1) ปัจจัยด้านโครงสร้างของหน่วยงาน คือการที่หน่วยงานมีโครงสร้างเล็ก ใหญ่ ขนาดใด การจัดหน่วยงาน บทบาท ภารกิจกว้าง แคบเพียงใด ตลอดจนมีการจัดตั้งเก่า ใหม่ อย่างไร โครงสร้างหน่วยงานจะเป็นศักยภาพพื้นฐานที่ช่วยให้หน่วยงานสามารถจะรับนโยบายมาปฏิบัติได้กว้าง แคบแค่ไหน
(2) ปัจจัยความพร้อมด้านทรัพยากร คือการที่หน่วยงานมีอัตรากำลังคน เครื่องมือ เครื่องใช้ตลอดจนงบประมาณเพียงพอ แค่ไหนสำหรับการรับนโยบายมาปฏิบัตินั่นเอง
(3) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการจัดการ คือ ความสามารถหรือสมรรถนะขอหน่วยงาน งานด้านการจัดการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการดำเนินงาน ให้บรรลุเป้าหมายสำเร็จของนโยบายนั่นเอง หน่วยงานบางแห่งมีทรัพยากรมาก แต่อาจขาดประสิทธิภาพการจัดการ แต่บางหน่วยงานมีประสิทธิภาพในการนำนโยบายไปปฏิบัติได้สูงทั้งๆที่มีทรัพยากรจำกัด
ปัจจัยทั้ง 3 ด้านนี้จะต้องนำมาพิจารณาประกอบกัน เพื่อประเมินศักยภาพความพร้อมโดยส่วนรวมของหน่วยงานที่จะรับนโยบายมาปฏิบัติ และใช้ในการกำหนดเป้าสำเร็จ และแนวทางปฏิบัติของแผนด้วย
ขั้นที่ 5 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหน่วยงาน ในการวางแผนเพื่อตอบสนองนโยบายใดก็ตาม จำเป็นต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
ขั้นที่ 6 กำหนดเป้าสำเร็จ ในการวางแผนสนองนโยบายใดๆ เมื่อวิเคราะห์เป้าสำเร็จที่ต้องการของนโยบาย ปัญหาความต้องการ และศักยภาพของหน่วยรับนโยบายแล้ว จึงนำเอาผลการวิเคราะห์ในข้อต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นมากำหนดเป้าสำเร็จ โดยแยกเป็นเป้าสำเร็จรวมและเป้าสำเร็จย่อยซึ่งอาจแบ่งกลุ่มพื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมายก็ได้ ทั้งนี้การกำหนดเป้าสำเร็จจะต้องคำนึงถึง 1) ความเป็นไปได้ที่จะบรรลุ (obtainable) 2) สามารถวัดได้ (measurable) และ 3) ท้าทายให้อยากทำจนบรรลุเป้าสำเร็จ (challenging)
ขั้นที่ 7 กำหนดวิธีปฏิบัติและทรัพยากรที่ใช้ เมื่อสามารถกำหนดเป้าสำเร็จได้เหมาะสมแล้ว มีการตรวจสอบความเป็นไปได้แล้ว ผู้รับนโยบายจำเป็นต้องแปลงและดำเนินการในนโยบายให้ออกมาเป็นวิธีปฏิบัติ และวิธีปฏิบัตินั้นจะต้องมุ่งให้บรรลุเป้าสำเร็จของนโยบายและแผน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวดำเนินการในนโยบายด้วย
ขั้นที่ 8 กำหนดองค์กรปฏิบัติ ในการรับนโยบายมาปฏิบัติในแต่ละเรื่องอาจใช้องค์การประจำหน่วยงานที่มีอยู่แล้วก็ได้ หรือบางครั้งนโยบายบางเรื่องต้องการหน่วยงานที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษต่างจากหน่วยงานเดิมก็ได้
ขั้นที่ 9 กำหนดวิธีการจัดการ เพื่อให้หน่วยงานล่างสามารถรับแผนหรือนโยบายไปปฏิบัติได้ชัดเจน จึงจำเป็นต้องกำหนดวิธีการจัดการคือการจำแนกกิจกรรมต่างๆ และทรัพยากรที่ใช้ให้สัมพันธ์กันกับเป้าสำเร็จที่ต้องการบรรลุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างระบบอำนวยการจัดการให้เกิดขึ้นด้วย เช่น มีระเบียบ แนวทางปฏิบัติให้ให้มีการตัดสินใจได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการ และการปรับเปลี่ยนเป้าสำเร็จ วิธีดำเนินการ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรเพื่อให้กิจกรรมเข้ากับสภาพความเป็นจริงของผู้ปฏิบัตินั่นเอง และจะต้องไม่ลืมว่ามีการจัดการในแต่ละระดับของหน่วยงานแตกต่างกันอย่างไรด้วย
ขั้นที่ 10 กำหนดแนววิธีการควบคุมการบรรลุเป้าสำเร็จ ในการกำหนดเป้าสำเร็จและวิธีการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยธรรมชาติการทำงานทั่วไปมีแนวโน้มที่จะใช้ทรัพยากรมาก บรรลุเป้าสำเร็จต่ำ ดังนั้นในการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติจึงมักจะต้องมีการควบคุมให้ใช้ทรัพยากรน้อย แต่ได้เป้าสำเร็จสูง การควบคุมดังกล่าวจึงอาจเป็นมาตรฐานเชิงบวกหรือเชิงลบก็ได้ ซึ่งมีขอบข่ายกว้างในทางการจัดการ อาจมีหลายลักษณะ ได้แก่ การรายงาน การติดตาม การนิเทศ และการประเมินผล ซึ่งถ้าหากจะให้เกิด ความชัดเจนแก่ผู้ปฏิบัติก็ควรกำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จไว้ให้ชัดเจน
3. ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
สำหรับปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ มีดังนี้
3.1 ลักษณะของนโยบาย มีส่วนในการกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนโยบายได้แก่
1) ประเภทของนโยบาย การปฏิบัติตามนโยบายจะมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากที่สุดหากนโยบายนั้นเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆน้อยที่สุด และมีความเห็นพ้องต้องกันในวัตถุประสงค์ในระดับสูง
2) ผลประโยชน์ของนโยบายนั้นๆ ความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติขึ้นกับประสบการณ์ที่ผ่านมา น้ำหนักของผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่นโยบายนั้นผลักดันให้เกิดขึ้นมา ถ้าการรับรู้มีมากกว่านโยบาย ให้ประโยชน์มากกว่านโยบายอื่น โอกาสความสำเร็จก็จะมีมาก
3) ความสอดคล้องกับค่านิยมที่มีอยู่ และความต้องการของผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายนั้น
4) ความเป็นไปได้ในการนำมาทดลองก่อนในเชิงปฏิบัติในลักษณะของโครงการทดลอง โอกาสสำเร็จจะมีมากกว่านโยบายที่ไม่สามารถทำเป็นโครงการทดลองก่อนได้
5) ความเห็นผลได้ของนโยบาย นโยบายที่สามารถส่งผลที่สามารถเห็นได้ชัดเจน จะมีโอกาสในการประสบผลสำเร็จในทางปฏิบัติมากกว่านโยบายที่ไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงผลที่ชัดเจน
6) คุณภาพของการส่งข้อมูลย้อนกลับ คุณประโยชน์ของการส่งข้อมูลย้อนกลับมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของนโยบายโดยเฉพาะถ้าเป็นนโยบายที่เสนอการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
3.2 วัตถุประสงค์ของนโยบาย เป็นส่วนหนึ่งในการที่จะให้การกำหนดนโยบายไปปฏิบัตินั้นสำเร็จแยกพิจารณาได้ดังนี้
1) ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ หากวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน โอกาสการตีความผิดจะเป็นเหตุทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติล้มเหลวได้
2) ความสอดคล้องต้องกันของวัตถุประสงค์ นอกจากวัตถุประสงค์จะชัดเจนแล้ว ยังจำเป็นต้องมีความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
3) ความยากง่ายในการรับรู้วัตถุประสงค์ คือ ง่ายต่อความเข้าใจ ความรับรู้ ของผู้ที่จะนำไปปฏิบัติว่า นโยบายนั้นๆมีวัตถุประสงค์อย่างไร
4) ตัวชี้วัดความสำเร็จของนโยบาย จะทราบว่าความสำเร็จของนโยบายนั้นแสดงให้เห็นได้อย่างใด อะไรคือตัวชี้วัดว่านโยบายนั้นประสลผลสำเร็จ ฉะนั้นจำเป็นต้อมีดัชนีชี้ วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของนโยบายนั้นๆ
5) ความไม่เที่ยงตรงของข่าวสารต่อผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ หากแหล่งข้อมูลข่าวสารให้ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องในการแปลวัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรือมาตรฐานต่างๆของนโยบาย ข้อขัดแย้งเหล่านั้นจะทำให้การปฏิบัติเป็นไปได้ตามวัตถุประสงค์ของนโยบายที่แท้จริง
3.3 ความเป็นไปได้ทางการเมือง ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ทางการเมืองได้แก่
1) การเจรจาระหว่างรัฐบาลและเอกชน ความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนหรือคัดค้านที่เอกชนมีต่อนโยบาย ถ้านโยบายใดจำเป็นต้องมีการเจรจากับกลุ่มธุรกิจเอกชนอยู่เสมอ โอกาสที่จะประสบปัญหาจะมีเมื่อนำไปปฏิบัติ
2) ความสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นโยบายที่ขาดการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ และบุคคลที่สำคัญในวงการรัฐบาลและรัฐสภา โอกาสที่จะถูกคัดค้านเมื่อนำเข้าพิจารณาในกระบวนการทางนิติบัญญัติ
3) ผลกระทบของนโยบายที่มีต่อกลุ่มอาชีพที่มีอิทธิพล กลุ่มอิทธิพลจะใช้วิถีทางทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อที่จะยับยั้งการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบาย
4) การสนับสนุนจากชนชั้นผู้นำ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาหากการสนับสนุนจากชนชั้นผู้นำ โอกาสนำนโยบายไปปฏิบัติก็เกิดขึ้นได้ยาก
5) การสนับสนุนจากสื่อมวลชน นโยบายที่ขาดการสนับสนุนจากสื่อมวลชนมักประสบปัญหาในทางปฏิบัติ
6) การสนับสนุนจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ว่าชอบหรือไม่กับนโยบายนั้น
3.4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเกิดขึ้นเร็วและแต่ละ
ครั้งจะส่งผลต่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบาย เทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติตามนโยบายที่วางเอาไว้ต้องสอดคล้องกับสภาวการณ์ หรือภาวะแวดล้อมที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ ข้อเสนอของนักวิชาการ ที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ จะต้องนำมาพิจารณาให้รอบคอบ เพราะอาจไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในประเทศกำลังพัฒนาก็เป็นได้
3.5 ความพอเพียงของทรัพยากร นโยบายที่จะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จนั้นต้องได้รับการ
สนับสนุนทางทรัพยากร ทั้งด้านเงิน คน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะกระทบกับประสิทธิภาพของนโยบาย
3.6 ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ โครงสร้างของหน่วยงานที่นำ
นโยบายไปปฏิบัติจะมีส่วนอย่างมากต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของนโยบายนั้น ซึ่งพิจารณาได้เป็น
1) ประเภทของหน่วยงาน หน่วยงานทีมีกำลังคน ทรัพยากรอื่นๆ พร้อม อยู่
แล้ว มีโอกาสที่นโยบายจะประสบความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติมากกว่าหน่วยงานที่ไม่พร้อม
2) โครงสร้างและลำดับขั้นการบังคับบัญชา หน่วยงานขนาดเล็กที่มีระดับชั้นการบังคับบัญชาน้อย จำนวนผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชามาก จะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติมากกว่าหน่วยงานขนาดใหญ่ที่มีระดับชั้นและสายการบังคับบัญชามาก แต่ผู้ใต้บังคับบัญชาน้อย
3) ความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างหน่วยงานที่กำหนดและหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ถ้าความสัมพันธ์มีมากโอกาสความสำเร็จก็จะมีมากด้วย
3.7 กลไกภายในหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
1) จำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากจำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น
เท่าใด ปัญหาในเรื่องการประสานงานจะมีมากขึ้น และหากไม่สามารถประสานกันได้โอกาสที่นโยบายจะล้มเหลวก็มีมากขึ้น และหากไม่ประสานกันได้ โอกาสที่นโยบายจะล้มเหลวก็มีมากขึ้น
2) จำนวนจุดตัดสินใจ จำนวนจุดตัดสินใจของนโยบายถ้ามีมากขึ้นเท่าใดความล่าช้าในการปฏิบัติก็มีมากขึ้นเท่านั้น
3) ความสัมพันธ์ดังเดิมของหน่วยงายที่ร่วมปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบาย ถ้าร่วมมือกันดีก็จะทำให้นโยบายสามารถนำไปปฏิบัติได้ผลสำเร็จ ตรงกันข้ามกับความขัดแย้งดั้งเดิมซึ่งถ้ามีก็จะนำไปสู่ความล้มเหลว
4) การแทรกแซงของหน่วยงานระดับนโยบายอาจประสบปัญหาหากถูกแทรกแซงจากหน่วยงานระดับบนมากเกินไป
3.8 ทัศนคติของผู้ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ นโยบายที่ขัดกับความรู้สึกพื้นฐานหรือ
ผลประโยชน์ของ ผู้ปฏิบัติอาจได้รับการคัดค้านหรือปฏิบัติอย่างไม่เต็มใจ ทัศนคติที่อาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของนโยบายพิจารณาได้ดังนี้
1) ทัศนคติที่มีต่อวัตถุประสงค์ของนโยบาย นโยบายที่ผู้ปฏิบัติจะนำไปปฏิบัติ
ได้ดี ต้องเป็นนโยบายที่ผู้ปฏิบัติเข้าใจ เห็นด้วยและมีความรู้สึกผูกพัน
2) ผลกระทบที่จะมีต่อพฤติกรรมของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ นโยบายที่มีผลให้ผู้ปฏิบัติ ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากแนวคิดที่เคยปฏิบัติเป็นเวลาช้านาน มักประสบความล้มเหลว
3) ความขัดแย้งที่มีต่อค่านิยมของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ถ้าผู้นำนโยบายไปปฏิบัติไม่เห็นด้วยกับนโยบาย หรือเลือกปฏิบัติเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดต่อค่านิยมที่ตนยึดถือ โอกาสที่จะทำให้นโยบายล้มเหลวก็สูง
4) ผลกระทบที่มีต่องาน อำนาจ ศักดิ์ศรีและผลประโยชน์ของผู้นำเอานโยบายไปปฏิบัติ ผู้นำนโยบายไปปฏิบัติมักจะหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่ขัดกับผลประโยชน์ของตน
ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติมีหลายประการด้วยกัน เช่น แหล่งที่มาของนโยบาย ความชัดเจนของนโยบาย การสนับสนุนนโยบาย ความซับซ้อนในการบริหารงาน สิ่งจูงใจสำหรับผู้ปฏิบัติ การจัดสรรทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ด้วย
4. การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล
สำหรับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลนั้น วิโรจน์ สารรัตนะ (2546 อ้างถึงในสมภาร ศิโล, 2552) ได้ให้ข้อเสนอยุทธศาสตร์ในการนำนโยบายทางการศึกษาไปปฏิบัติให้บรรลุผล โดยได้กำหนดข้อเสนอเป็น 13 ยุทธศาสตร์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนี้
(1) วิเคราะห์และส่งต่อนโยบาย
(2) เรียนรู้ปัญหาเพื่อแก้ไขและป้องกัน
(3) ใช้ผลการวิจัยให้เป็นประโยชน์
(4) นำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
(5) พัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบาย
(6) ติดตาม ประเมินและวิจัยเพื่อพัฒนา
(7) มุ่งชนะสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
(8) มุ่งเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(9) ศึกษาอนาคตเพื่อวิสัยทัศน์ ริเริ่มและสร้างสรรค์
(10) ทบทวนข้อวิจารณ์ต่อการศึกษา
(11) ทบทวนข้อเสนอเพื่อปฏิรูปการศึกษา
(12) ทบทวนเพื่อเข้าใจในนโยบาย
(13) พัฒนาตัวแบบกระบวนการนโยบายของหน่วยงาน
จากที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า การดำเนินการนำนโยบายสู่การปฏิบัติเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก จากข้อความที่มีผู้กล่าวว่า การวางแผนที่ดีทำให้ประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง หากพิจารณาให้ถ่องแท้จะพบว่า อีกครึ่งหนึ่งที่จะทำให้แผนบรรลุผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์นั้น อยู่ที่ขั้นตอนการนำแผนไปสู่การปฏิบัตินี้เอง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลา ทรัพยากรและความสามารถของบุคคลผู้ที่นำไปปฏิบัติ โดยในการดำเนินการอาจมีการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ แก้ไขระเบียบ กฎหมายที่รองรับการปฏิบัติ ตลอดจนการจัดหาทรัพยากรต่างๆ เช่น คน งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการนั้น เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

เอกสารอ้างอิงจุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย: ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง. นนทบุรี:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นภดล พูลสวัสดิ์. (2551). ยุทธศาสตร์ กลไกสู่การปฏิบัติและการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา
ท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2545). นโยบายและการวางแผน หลักการทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:
เนติกุลการพิมพ์.
มยุรี อนุมานราชธน. (2549). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
วรเดช จันทรศร. (2551). จากนโยบายสู่การปฏิบัติ: องค์ความรู้ ตัวแบบทางทฤษฎี และการประเมิน
ความสำเร็จ ความล้มเหลว. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิก.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา: นโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุผล. กรุงเทพฯ:
ทิพยวิสุทธิ์.
. (2550). แนวคิดของการวิจัยเชิงนโยบาย. ใน วิโรจน์ สารรัตนะ (บรรณาธิการ). วารสารบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2),12-24. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
วิโรจน์ สารรัตนะ, และประยุทธ ชูสอน. (2548). นโยบายและการวิจัยเชิงนโยบาย. ใน วิโรจน์ สารรัตนะ
(บรรณาธิการ). วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2), 32-42.
สมภาร ศิโล. (2552). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปัญหาและแนวโน้มการศึกษาไทยในอนาคต


ปัญหาและแนวโน้มการจัดการศึกษาไทยในอนาคต
  


                                          กษมา  ศรีสุวรรณ
                                                                                นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา
                                                                      มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
การพัฒนาประเทศต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคน การพัฒนาคนเริ่มต้นที่การให้
การศึกษา เพราะเชื่อว่าการศึกษา  เพราะเชื่อว่าการศึกษาช่วยสร้างความรู้ความคิด ทักษะเจตคติให้คนไทยรู้จักตนเองรู้จักชีวิต เข้าใจสังคมและสิ่งแวดล้อมพัฒนาอาศัย นำความรู้ความเข้าใจมาใช้ในการแก้ปัญหา รวมทั้งสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวล้ำนำโลกไม่มากดำเนินต้องพัฒนาการศึกษาให้ก้าวทันโลกแต่ปัจจุบันนี้เมื่อหันมามองการจัดการศึกษาไทย เข้าใจไปไม่ในแนวทางเดียวกันคือ การศึกษาไทยกำลังมีปัญหา ซึ่งมีการทำวิจัยออกมาหลายๆครั้งที่สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวในการจัดการศึกษา ปัจจุบันน้าถาบันครอบครัวอ่อนแอ มียาเสพย์ติดและอบายมุขเข้ามาเป็นสาเหตุของปัญหาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นปัญหาและค่านิยมอันผิดๆของวัยรุ่นในสังคมไทย นับวันจะทวีความรุนแรงและจะกลายเป็นวิกฤติทางสังคม โดยมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากการขึ้นหากการจัดการศึกษามีคุณภาพพอ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติไม่ให้เกิดภัยสึนามิ ไม่ให้เกิดแผ่นดินไหว ให้เกิดสภาวะโลกร้อนไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่ แต่เสามารถเปลี่ยนแปลงคนได้ โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง
                       การศึกษาที่มีคุณภาพสามารถเปลี่ยนแปลงคนไปในทางที่ดีกว่าเพราะการศึกษาคือความเจริญงอกงาม (Education is Growth) และทำหน้าที่พัฒนาคุณภาพชีวิตคน การศึกษาสามารถจัดคนเข้าสู่อาชีพตามความถนัดและความสนใจได้ การศึกษาสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ทันต่อเหตุการณ์ และแก้ปัญหาสังคม ประเทศและโลกได้
                       ถึงแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิรูปการศึกษาในรอบแรกไปแล้วนั้น ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือในรอบแรก ต้องการพัฒนาการศึกษาไทยให้มีเอกภาพ มีการจัดระบบโครงสร้าง  มีองค์กรอิสระเข้ามาทำหน้าที่รับรองมาตรฐาน และประเมินผลข้อสอบนักเรียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนที่คิดเป็นทำเป็น แต่เมื่อจากนโยบายด้านการศึกษาไม่ต่อเนื่อง และไม่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ควร การปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกจึงเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนโครสร้าง จึงได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ (2552-2561)เพื่อพัฒนาการศึกษาวางระบบและวางรากฐานที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันนี้การจัดการศึกษาของไทยมีปัญหาที่พอแจกประเด็นได้ดังนี้
จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540  ให้ความสำคัญแก่การศึกษาโดยให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติเป็นการเฉพาะ  นำไปสู่การประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขปรับปรุง (ฉบับที่2) พ.ศ.2545  มีเนื้อหาสาระสำคัญโดยย่อดังต่อไปนี้
  • ความมุ่งหมายและหลักการ เนื่องจากการศึกษามีบทบาทสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ  ดังนั้นจึงต้องจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ระบบโครงการและกระบวนการศึกษายึดหลักสำคัญ 3 ประการ  คือ เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วไปตลอดชีวิต  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและเป็นการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
  • สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา  บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี  ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายและเน้นเป็นพิเศษสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส  รวมทั้งผู้มีความสามารถพิเศษ
  • บุคคล ชุมชน สถาบันต่างๆ และสถานประกอบการ  มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน บิดา มารดา และผู้ปกครองมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่บุตรหรือบุคคลในความดูแล  รวมทั้งได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายทางการศึกษา
  • ระบบการศึกษา  มี 3 ระบบ  คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาได้ทั้ง 3 ระบบให้มีการเทียบโอนระหว่างระบบ
  • แนวการจัดการศึกษา  หลักสูตรต้องบรรจุเรื่องความรู้ ทักษะ คุณธรรมทุกระดับชั้น และให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับตนเอง สังคม ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยถือหลักทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้  และผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
  • การบริหารและการจัดการศึกษา  มีกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท  กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา  สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา  ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬาเพื่อการศึกษา  รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ ประเมินการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง
  • มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 5 ปี
  • ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา  ให้มีองค์กรวิชาชีพครูและผู้บริหารสถานศึกษา  ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพออก และถอดถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษามีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและค่าตอบแทน  มีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา  ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อการศึกษาในรูปค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เงินอุดหนุน จัดตั้งกองทุนและอื่นๆ  ให้แก่สถานศึกษา ครอบครัว ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดการศึกษา
  • เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ให้รัฐจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม และสื่อสารรูปอื่นๆ  เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและส่งเสริมสนับสนุน ระดมทุนวิจัย พัฒนาการผลิตสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทุกรูปแบบ
  • บทเฉพาะกาล  ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา  เป็นองค์กรมหาชน  ทำหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้สำเร็จภายใน 3 ปี 
ระบบการบริหารการศึกษาไทยในปัจจุบัน
การบริหารการศึกษาไทยเกิดจากสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ในหมวดที่ 5 ว่าด้วยการบริหารและจัดการศึกษาในส่วนการบริหารและจัดการศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการศึกษาโดยตรงนั้น มีสาระสำคัญดังนี้
การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อเป็นการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่นและสถานศึกษาให้มากที่สุด  โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระดับชาติ  ให้มีกระทรวงศึกษาธิการ  ให้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุก
ประเภท  กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา  สนับสนุนทรัพยากร  รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ  และประเมินผลการจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม  ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก 4 องค์กร  คือ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการการอุดมศึกษา  นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ในส่วนกลางที่จัดขึ้นตามความจำเป็น
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับต่ำกว่า
ปริญญาให้จัดโดยเขตพื้นที่การศึกษา  โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากรเป็นหลัก และความเหมาะสมอื่นด้วย ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยมีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็นกลุ่มตามงานที่ปฏิบัติในลักษณะกำกับดูแล  ประสานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้แก่ กลุ่มอำนวยการ  กลุ่มบริหารงานบุคคล  กลุ่มนโยบายและแผน  กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา  กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล  กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน หน่วยตรวจสอบภายใน  มีขอบเขตภารกิจเกี่ยวกับงานตรวจสอบการเงิน การบัญชี และ
งานตรวจสอบการดำเนินงานต่างๆ
ระดับสถานศึกษา  ให้แต่ละสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
มีคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา  และจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ทั้งนี้ให้กระทรวงกระจายอำนาจทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล  และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง สถานศึกษา  เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  โดยมีการแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขตพื้นที่การศึกษากำหนด ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามสภาพความพร้อมและบริบทของแต่ละสถานศึกษา  ซึ่งหากแบ่งงานภายในสถานศึกษาโดยใช้ขอบข่ายและการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาอาจจัดโครงสร้าง ดังนี้ กลุ่มบริหารวิชาการ  กลุ่มบริหารงบประมาณ  มีขอบเขตภารกิจเกี่ยวกับการจัดทำแผนงบประมาณและขอตั้งงบประมาณ เพื่อเสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่ม กลุ่มบริหารทั่วไป 
จากการที่ระบบบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ  ได้กำหนดให้กระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่นและสถานศึกษาให้มากที่สุด  โดยในระดับสถานศึกษาให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาทำหน้าที่กำกับ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา  รวมทั้งจัดทำสาระหลักสูตรของสถานศึกษา
ปัญหาการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน
1.คุณภาพการศึกษา
อยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจ เมื่อดูจากผลการทดสอบระดับชาติ ฯ โดยเฉพาะวิชาหลักในปี ๒๕๕๒ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓ มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าร้อยล่ะ๕๐ทุกวิชา ภาษาไทยร้อยละ๔๑
สังคมศึกษา  ร้อยละ๔๑ ภาษาอังกฤษ ร้อยละ ๓๔คณิตศาสตร์ ร้อยละ ๓๒วิทยาศาสตร์ ร้อยละ๓๙ ค่าเฉลี่ยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เกือบทกวิชา ภาษาไทย ร้อยละ ๔๖ สังคมศึกษา ร้อยละ๓๔ ภาษาอังกฤษ ร้อยละ๓๐ วิทยาศาสตร์ ร้อยละ๓๓ ยกเว้นวิชาสุขศึกษาร้อยละ ๕๖และสำคัญที่สุด เมื่อเปรียบเทียบในระดับนานาชาติ พบว่าอยู่ในระดับไม่น่าพึงพอใจ ไม่ว่าจะเป็นผลจาก IMD (Institute for Management Development) การศึกษาไทยอยู่อันดับที่๔๗จาก๕๘ ประเทศผลการทดสอบจาก PISA (Program for International Student Assessment) การอ่านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีประเทศอยู่ในกลุ่มOECD นอกกลุ่มสมาชิก รวม๖๕ ประเทศ ประเทศไทยได้คะแนนการอ่าน๔๒๑ คะแนน คณิตศาสตร์ ๔๑๙คะแนน วิทยาศาสตร์๔๒๕ คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทั่วโลกไทยอยู่อันดับที่ ๔๗-๕๒โดยประมาณ จากผลโครงการวิจัยประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในวิชาเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ใน๕๙ประเทศสมาชิก TIMS Trends in International Mathematics and Science Study
2.โอกาสทางการศึกษา พบว่ามีอัตราการเข้าเรียนสุทธิของนักเรียนในแต่ละระดับยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ประกอบด้วยระดับระดับปฐมวัย ร้อยละ ๕๙ ระดับการศึกษาภาคบังคับ ร้อยละ๙๐.๓ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ ๘๒.๖ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีจำนวนนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ ร้อยละ ๙๘ฉะนั้นคำถาม คือเด็กอีกร้อยละ ๙หายไปไห แต่การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีอัตราเพิ่มขึ้นจากปี๒๕๕๑ร้อยละ๑๑๓ แต่ยังคงมีเด็กที่ไม่มีโอกาสต่อ เด็กออกกลางคัน ร้อยละ ๑๐ อีกทั้งยังมีเด็กที่อยู่พื้นที่สูง ท้องถิ่นห่างไกล นอกเมือง พื้นที่เสี่ยงภัย รวมประมาณร้อยละ๗-๙ต่อปีหรือจำนวนกว่า๒ล้านคน
3.การบริหารจัดการ ในด้านงบประมาณ พบว่าประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาร้อยละ๔.๒ของGDP ซึ่งเป็นการลงทุนด้านการศึกษาที่สูงกว่าประเทศญี่ปุ่นอินเดีย เกาหลี สิงคโปร์ และจีน แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาประเทศเหล่านั้นปัญหาเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษากาเพื่อให้มีความอิสระ มีความคล่องตัว ในขณะที่ ศธ.ครบรอบ๑๑๙ปีซึ่งมีการบริหารจากด้านบนลงด้านล่าง พบว่าในเชิงของประสิทธิภาพยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจโดยเฉพาะการบริหารจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ยังอยู่ในสัดส่วน ๘๑:๑๙แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนการจัดการการศึกษากาขั้นพื้นฐานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ๖๐.๔๐ ระดับมัธยมศึกษาและระดับอาชีวะศึกษา๕๐:๕๐ ระดับอุดมศึกษา๔๐:๖๐          
             สภาพทางด้านเศรษฐกิจละสังคมในเมืองและชนบทมีความเลื่อมล้ำกันมาก  ทำให้เด็กในชนบทมีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูงที่ไม่ใช่ภาคบังคับน้อยกว่าเด็กในเมือง
              การกระจายสถานศึกษากายังไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และจำนวนประชากร  มุ่งลงทุนในเมืองมากกว่าชนบท โดยเฉพาะพื้นที่มีแรงผลักดันด้านการเมืองการปกครอง
5.การจัดการศึกษาไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานการลงทุนทางการศึกาในหลายลักษณะงานมุ่งขยายปริมาณรวดเร็วโดยยังไม่สอดคล้องกับคุณภาพและความต้องการของตลาดแรงงานส่วนใหญ่มุ่งผลิตบุคลากร เพื่อสนองความต้องการของทางราชการมากกว่าการผลิตบุคลากร เพื่อสถานประกอบการเอกชนและประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นเหตุหัยเกิดปัญหาการว่างงานกว้างขวางยิ่งขึ้น และวิศวกรรมศาสตร์บางสาขายังต้องประสบปัญหาที่ต้องทำงานต่ำกว่าระดับกลางที่มีปัญหาการว่างงานและเรียนต่อสูงมีเกือบทุกสาขา ยกเว้นสาขาอุตสาหกรรมบางสาขาเท่านั้น ส่วนบัณฑิตในสาขาที่ผลิตแล้ว ยังไม่พอกับความต้องการของตลาดแรงานคือแพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านสาธารณสุขทุกประเภท และกำลังคนที่สนองความต้องการในสาขาพัฒนาอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ
6.ด้านผลผลิตและระบบการศึกษา พบว่าการผลิตนักเรียนนักศึกษายังไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และตลาดแรงงานเพราะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวะศึกษา และ อุดมศึกษาไม่มีความเชื่อมต่อกัน ศธ. จึงต้องมองภาพรวมของจัดการศึกษาและปัญหาการศึกษาไทยอย่างละเอียดรอบครอบ เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดความเชื่อมโยงในแต่ละระดับการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
                 
           จากการติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติที่ผ่านมาพบว่าการจัดการศึกษาของไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  แม้หลักสูตรจะเปลี่ยนไปแต่พฤติกรรมการสอนของครู-อาจารย์ในสถานศึกษาต่างๆ ยังไม่เปลี่ยนไป  การสอนยังเป็นแบบการให้ความรู้เชิงเนื้อหาเป็นหลัก เน้นความจำและจดบันทึกสิ่งที่ครูบอก  ไม่ค่อยมีการใช้สื่อและนวัตกรรมใหม่ๆ  บุคลากรในองค์การขาดความกระตือรือร้นและอื่นๆ ปัญหาและข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นปัญหาซ้ำซากแก้ไม่ตกรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารระดับสูงและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องหลายท่านพยายามจะนำแนวคิดใหม่และนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้  แต่ไม่ค่อยเกิดผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร  การดำเนินการอาจจะเป็นไปแบบไฟไหม้ฟางอยู่ระยะหนึ่งในช่วงผู้บริหารผู้นั้นยังครองอำนาจอยู่  พอเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ แนวคิดและแนวปฏิบัติต่างๆก็เปลี่ยนไปด้วย  จนกลายเป็นโรคดื้อยาไปแล้ว (สมาน  อัศวภูมิ,2551,199)
ปัญหาการบริหารการศึกษาโดยภาพรวม
 การรวมอำนาจ  มีความล่าช้าในการอนุมัติ  ขาดความเป็นอิสระ  ไม่ตอบสนองชุมชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม  สิ้นเปลืองงบประมาณและทรัพยากร  การจัดสรรที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง  สถานศึกษาไม่อาจสรรหาบุคลากรได้ตามต้องการเนื่องจากระเบียบการคัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง  ในด้านหลักสูตรการเรียนการสอนมีการกำหนดและควบคุมจากส่วนกลางสูงมาก  ความพยายามให้สถานศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่พัฒนาหลักสูตรในท้องถิ่นยังไม่เกิดผลเท่าที่ควร

การขาดเอกภาพในการบริหาร  ความเป็นอิสระของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานต่างบริหารและขยาย
งานในแนวตั้งจนไม่สามารถประสานและกำกับงานการศึกษาให้มีเอกภาพ ให้เกิดผลเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่พึงประสงค์ได้อย่างเต็มที่
การขาดประสิทธิภาพในระบบประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  คุณภาพของผู้เรียน
โดยทั่วไปยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจและยังมีความแตกต่างกันมาก  ทั้งในแต่ละระดับการศึกษาและระหว่างสถานศึกษาที่จัดในระดับเดียวกัน  ทั้งที่อยู่ในสังกัดเดียวกันหรือต่างสังกัด  หรืออยู่ในพื้นที่ต่างกันหรือต่างขนาดกัน
การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน  การบริหารที่รวมศูนย์อำนาจทำให้เกิดความยึดเหนี่ยวใน
องค์กร  ยากที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มต่างๆในท้องถิ่นมีส่วนร่วมได้  ทำให้การจัดการศึกษาไม่สอดคล้องกับสภาพความต้องการของประชาชน
ขาดการพัฒนานโยบายอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  จากการขาดการยอมรับนโยบายและแผนทั้ง
ระดับชาติ ระดับกระทรวง และนโยบายและแผนที่ผู้มีอำนาจเดิมกำหนดไว้  รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นอยู่เสมอ  ทำให้ขาดความต่อเนื่องของนโยบายและแผน และการปฏิบัติก็ขาดความต่อเนื่องไม่บรรลุผลเท่าที่ควร
การขาดความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น  โดยหลักการแล้ว
กระทรวงศึกษาธิการควรมีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านวิชาการ ทรัพยากร  การกำหนดนโยบายและมาตรฐานการศึกษา  เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่ประชาชนจะได้รับจากการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แต่ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีบาบาทดังกล่าว  นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการยังขาดการเชื่อมโยงการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในหน่วยงานสังกัดเดียวกันและต่างสังกัด  ทำให้ต่างฝ่ายต่างกำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการจัดการศึกษาของตนเอง  ทั้งที่จัดการศึกษาในระดับเดียวกันแต่ไม่สามารถเปรียบเทียบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษากันได้
แนวโน้มการศึกษาไทยในอนาคต
การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระสังคมโลกส่งผลให้สังคมไทยเกิดการปรับตัวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมือง  การศึกษาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งแนวคิด สาระ  ตลอดจนแนวทางในการจัดการศึกษาในฐานะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่สำคัญในการพัฒนาบุคคลในชาติให้พร้อมรับและปรับตัวให้สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกทุกรูปแบบ เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ (2550, 1-8)  ได้แบ่งสังคมโลกออกเป็นคลื่น 5 ลูกคือ
คลื่นลูกที่ 1 คือ สังคมเกษตรกรรม  ใช้ความใหญ่โตกว้างขวางของพื้นที่เกษตรเป็นดัชนีวัดความเจริญ และความมั่งคั่งของประเทศ คลื่นลูกที่ 2 คือ สังคมอุตสาหกรรม  ใช้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรหรือทุนเป็นดัชนีวัดความเจริญและความมั่งคั่งของประเทศ คลื่นลูกที่ 3 คือ สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ  ใช้ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอำนาจในการเข้าถึง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารเป็นดัชนีวัดความเจริญก้าวหน้าและความมั่งคั่งของประเทศ คลื่นลูกที่ 4 คือ สังคมความรู้  ใช้ความสามารถในการครอบครองความรู้ หรือข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนที่สุดเป็นดัชนีความเจริญและความมั่งคั่งของประเทศ คลื่นลูกที่  5 คือ  ปราชญาสังคม  หรือสังคมแห่งปัญญา  ใช้ปัญญาวิถีเป็นดัชนีวัดความเจริญและความมั่งคั่งของประเทศ
ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 คือ การสร้างปัญญาชนป้อนเข้าสู่สังคมไทย ปัญญาชนดังกล่าวมี 2 ระดับ คือ
 ประชาเมธี  หมายถึง ประชาชนที่ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต  ใช้วิจารณญาณในการ
ดำเนินชีวิตมากกว่าการตอบสนองอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของตนเอง ปราชญาธิบดี  หมายถึง  ชนชั้นนำทางปัญญาของสังคมที่ทำหน้าที่เป็น “นักคิด” ทางปัญญาของสังคมคนกลุ่มนี้ได้แก่  นักวิชาการ ผู้บริหาร และผู้ปกครองประเทศหรืออาจดำรงตำแหน่งอาชีพหรือสถานะสังคมใดๆก็ได้  ปราชญาธิบดีจะเป็นตัวแทนในการเปลี่ยนแปลงประเทศและเป็นผู้นำด้านความคิดของบ้านเมือง หัวใจของการจัดการศึกษา  จึงควรมุ่งสร้างคนในประเทศทุกคนให้มีปรัชญาการมองโลกที่ถูกต้อง  เพราะปรัชญาการมองโลกเป็นพื้นฐานที่รองรับทิศทางที่สร้างความเจริญและสร้างความสงบสุขให้แก่ตนเองและแก่สังคม  ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดปรัชญาในการมองโลกมีหลายปัจจัยรูปแบบของการศึกษาที่สร้างปัญญา   เป็นระบบการศึกษาที่มีความสมดุลระหว่างการศึกษาเชิงทฤษฎีกับชีวิตจริง เป็นระบบที่สอนคนให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็นและประยุกต์ใช้เป็น หลักสูตรการศึกษามีความสมดุลระหว่างความเป็นท้องถิ่นและความเป็นสากล เป็นระบบการศึกษาที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การศึกษาเพื่อความรู้ (Knowledge) การศึกษาเพื่อสร้างทักษะ (Skill)  และการศึกษาเพื่อสร้างคุณลักษณะชีวิต (Character) เป็นระบบการศึกษาเพื่อทุกคน ทุกระดับสติปัญญา เป็นระบบการศึกษาเพื่อสร้างจิตสำนึกในอุดมการณ์ประชาธิปไตย เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม     ระบบการเรียนการสอนเน้นสิ่งที่ประเทศไทยมีอยู่เป็นเอกลักษณ์  และสอนโดยเป็นแบบอย่างให้ทำตาม (Role Modeling) เป็นระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีเครือข่ายการสร้างปัญญาวิถี 3 เครือข่าย คือ เครือข่ายของเด็กวัยเรียน เครือข่ายคนวัยทำงาน และเครือข่ายคนในชุมชน สิปปนนท์  เกตุทัต (2539,17-22)  กล่าวถึงวิสัยทัศน์การศึกษาไทยในอนาคต สรุปได้ดังนี้ เป็นระบบการศึกษาที่เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของบุคคล ครอบครัว และชุมชนด้วยการส่งเสริมทักษาเกี่ยวกับการเรียนรู้  เพื่อสามารถพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  สามารถรับข่าวสารใหม่ด้วยการคิดวิเคราะห์  รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสามารถผนึกกำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพปัญหาไปสู่สภาพที่พึงประสงค์ ปรัชญาการศึกษาในอนาคต  ถือว่าชีวิตที่มีความสุขคือ ชีวิตที่มีการเรียนรู้ และพัฒนาคนให้เป็นผู้สร้างมากกว่าผู้เสพ เป้าหมายของการจัดการศึกษา  ได้แก่ มุ่งสร้างให้คนมีความมั่นใจและเป็นตัวของตัวเอง มุ่งสนองปัญญามากกว่าตัณหา มุ่งพัฒนาวุฒิของความเป็นมนุษย์ที่วัดไม่ได้ด้วยวุฒิบัตร ส่งเสริมอิสรภาพของปัจเจกบุคคล ส่งเสริมให้คนมีคุณธรรมต่อกันด้านกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม  ปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ เนื้อหาของการศึกษาจะเน้นการสอนวิชาสุนทรียะศึกษาและพลศึกษา  ซึ่งจะไปช่วยเสริมสร้างการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมดุล
รูปแบบการจัดการศึกษาในอนาคต  ได้แก่ ให้อิสระแก่ผู้เรียน ให้ทางออกและทางเลือกแก่
ทุกคน ทำให้คนรักท้องถิ่นและสามารถดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างพึงพอใจ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำงานมีเสรีภาพและความรับผิดชอบในหน้าที่ รูปแบบการศึกษามีความหลากหลาย  เพื่อสนองความต้องการและลักษณะแตกต่างกันของบุคคลและชุมชน สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่มีการประสานสัมพันธ์กัน ใช้ความหลากหลายขององค์กรให้เป็นประโยชน์ ได้แก่ โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน สื่อมวลชน องค์กรศาสนา ภาคเอกชน องค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์  และองค์กรเฉพาะกิจ นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายข้อมูลทั่วโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา ช่วยสร้างความสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจที่ทันสมัยกับคุณค่าแบบไทยที่เน้นค่านิยมและจริยธรรมตามแนวทางของศาสนา เป็นสื่อให้คนไทยเข้าถึงแก่นวัตกรรมและวิถีชีวิตของชนชาติต่างๆ  เพื่อสร้างความร่วมมือและการแข่งขันในเชิงสร้างสรรค์ สร้างดุลยภาพหรือความพอดีในการผสมผสานคุณลักษณะต่างขั้ว ได้แก่ ความเป็นผู้นำกับผู้ตาม ความสามารถในการทำงานเป็นหมู่คณะ กับความสามารถในการดำรงตนในฐานะปัจเจกบุคคล เสรีภาพกับความรับผิดชอบความสามารถในการแข่งขันกับสมณะ การเห็นความสำคัญและประโยชน์ในวิยาการสมัยใหม่กับความชื่นชมในภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม การเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทย การเพิ่มพูนทักษะเฉพาะทางกับการเพิ่มพูนสุนทรียภาพและความรอบรู้ในภาพรวม การเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ กับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ “มนุษย์สัมผัสมนุษย์” การจัดประมวลสาระความรู้ทางมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา
กระบวนทัศน์ (Paradigm)  หมายถึง  ความคิดที่มีการโยงใยเป็นระบบ ระบบคิดหนึ่งๆก็
คือกระบวนทัศน์หนึ่งในการศึกษาเรื่องหนึ่งๆ  อาจมีหลายกระบวนทัศน์  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิถีการศึกษา เช่น การศึกษาปรัชญาจิตนิยมจะมีหลากหลายกระบวนทัศน์  แต่ในความหลากหลายเหล่านี้จะมีกระบวนทัศน์หลักอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์  เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของสถานที่ และเวลา (Place and Time)  ในบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป วิกฤติทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  ส่งผลให้มนุษยชาติดิ้นรนและพยายามคิดค้นวิธีหาทางออกดังเช่น  การผลิตในระบบอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมเปลี่ยนมาเป็นการผลิตแบบอัตโนมัติ  ส่วนเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารเปลี่ยนจากระบบ Analog มาเป็น Digital ผ่านใยแก้วนำแสงและเครือข่ายคอมพิวเตอร์  นับเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ส่งผลทำให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ที่สวนทางกับกระบวนทัศน์เดิม  ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์แบบมิติเดียวที่มุ่งสนใจแต่เรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นหลัก  กระบวนทัศน์ใหม่เป็นการมองแบบองค์รวมเป็นหลัก การศึกษาในฐานะที่เป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์ให้สามารถอยู่ในสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุขนั้น  กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการศึกษาให้แก่มนุษยชาติจึงต้องคำนึงถึงบริบทโลก(Context) มนุษย์จะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เกี่ยวกับบริบทหรือสิ่งแวดล้อมโลกเป็นเบื้องแรก  แล้วจึงจะรู้ได้ว่าจะต้องศึกษาเรียนรู้และพัฒนาเพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ขาด  ซึ่งเป็นหน้าที่ของระบบการศึกษาที่จะทำการเชื่อมโยงการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของโลก  บริบทใหม่ของโลกในอนาคตที่ควรคำนึงในเรื่องของ ด้านเศรษฐกิจ (Knowledge-based Economy)  ด้านการเมือง(Good Governance)  ด้านสังคม(learning Society) ด้านสาธารณสุข(Wholism) ด้านการศึกษา (Interdisciplinary)ด้านวัฒนธรรม(Contemporary) ด้านสิ่งแวดล้อม (Green Environment)ด้านเทคโนโลยี(Save Technology) ฐานคิดของอารยะธรรมตะวันออก  ปรากฏการณ์การขัดแย้งของมวลมนุษยชาติ  ที่ปรากฏมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน  เป็นดัชนีบ่งบอกถึงความผิดพลาดของการจัดการศึกษาโลกที่ไม่สามารถสร้างความสันติสุขให้มวลมนุษยชาติได้  ดังนั้นการดำเนินการจัดการศึกษาตามฐานความคิดของอารยะธรรมตะวันตกเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างสมดุลได้  ดังนั้นจึงควรบูรณาการฐานความคิดของอารยะธรรมตะวันออกที่น่าสนใจและเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาในบริบทโลกใหม่นี้  โดยมีฐานคิดของการเน้นคุณธรรม (ความดีงาม)  เพราะถือว่าคุณธรรมอยู่เหนือความรู้ และเป็นแหล่งที่มาแห่งความรู้ ความรู้ใช้ในการปลดทุกข์ (รากแห่งปัญญา)  โดยช่วยตัวเองให้พ้นทุกข์ละช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ด้วย  นับเป็นการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาไม่สามารถแยกออกจากชีวิต ชีวิตคือการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองจากโลกที่เป็นจริงเป็นหลัก เน้นวิธีการเรียนรู้แบบรวมหมู่  และแบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เน้นการศึกษาจาก “ภายใน”   โดยการขัดเกลาจิตวิญญาณของตนเอง  เพื่อให้สามารถเข้าใจตนเอง  ควบคุมตนเองและสามารถตรวจสอบตนเองได้ตลอดเวลา เป็นฐานคิดแบบธรรมชาตินิยม  โดยถือว่าธรรมชาติเป็นฐานแห่งความรู้และมนุษย์ต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ  เป้าหมายของการศึกษา คือ อิสรภาพแห่งชีวิตอิสระจากความทุกข์  และอิสระจากปัญหาของสังคม ฐานความคิดของอารยะธรรมตะวันออกดังกล่าว  จะช่วยขัดเกลาจิตใจของมวลมนุษยชาติให้อ่อนโยนมากขึ้น  ซึ่งง่ายต่อการสร้างสันติภาพและสันติสุขในสังคมโลกมากยิ่งขึ้น การจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน  สามารถเรียนได้มากและรวดเร็ว สามารถเข้าถึงการบริการการศึกษาได้ง่าย สามารถเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทุกคนสามารถเข้ารับบริการการศึกษาได้อย่างทั่วถึง และอยู่ที่ไหนก็เรียนได้ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไท  จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไท  เพื่อ
มุ่งให้ผู้เรียนมีความเป็นตัวของตัวเอง  ด้วยการสร้างความรอบรู้ผ่านการบูรณาการและสัมผัสประสบการณ์ตรงจากโลกที่เป็นจริง  สนับสนุนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ที่ไร้ขอบเขต  และพัฒนาจิตให้สามารถรับรู้ได้ไม่จำกัด ไม่ติดยึดทฤษฎี และมีเสรีภาพในการตัดสินใจ บทบาทของผู้สอนเป็นผู้สร้างความรอบรู้ (Knowledge Constructor)  ทำหน้าที่นำความรู้ที่มีในโลก (World Knowledge) มาเป็นความรู้ใหม่หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่  และถ่ายทอด เผยแพร่ให้แก่ผู้เรียนโดยอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยสร้างบทเรียนบนเว็บ  สร้างห้องเรียนจำลองแบบเสมือนจริง และสอนด้วยระบบออนไลน์ เป็นต้น
                          จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  แนวคิดของนักการศึกษามีความหลากหลายและต่างกันแต่ในมุมมองของผู้นำเสนอมีความคิดว่าการศึกษาไทยมีทั้งแนวโน้มด้านบวกและด้านลบพอสรุปได้ดังนี้
                       แนวโน้มด้านบวก
  หลักสูตรใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก  จากการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน                 หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น  เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน  กระตุ้นให้หลักสูตรการศึกษานานาชาติมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น
                   
3.  การศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้น  สภาพโลกาภิวัฒน์ที่มการเชือมโยงในทุกด้านร่มกันทั่วโลก  ผลักดันให้สถาบันการศึกษาไทยต้องพัฒนาการศึกษาให้มีความเป็นสากลเป็นที่ยอมรับดับชาติและระดับสากลมากยิ่งขึ้น
                 4 ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง  การพัฒนาและการแข่งขันทางการศึกษามีมากขึ้นในระดับที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางด้านการจัดการศึกษาลดลง  โอกาสทางการศึกษาของประชาชนมีมากขึ้น  ประกอบการให้โอกาสตามนโยบายของรัฐและความร่วมมือของเอกชนมีมากขึ้น ช่องว่างทางการศึกษาลดลง
             5 โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น   การจัดการศึกษามีการแข่งขันมากขึ้นจึงมีโอกาสที่จะได้รับบริการที่มีคุณภาพ มกขึ้น ผู้รับบริการสามารถเลือกรับบริการที่มีคุณภาพของสถานศึกษาอย่างหลากหลาย
แนวโน้มด้านลบ
การผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีมากเกินไป การสอนด้านทักษะชีวิต  คุณธรรม จริยธธรรมลดลง   เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง สถาบันการศึกษาจึงมุ่งพัฒนาความรู้ทางวิชาการ จนละเลยการพัฒนาด้านคุณธรรม การสอนภาษาต่างประเทศยังไม่มีคุณภาพ ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางของโลกที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เจราจาต่อรองด้านการค้า ยังไม่มีคุณภาพ ทักษะด้านการคิดยังไม่มีคุณภาพ ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถพัฒนาทักษะด้านการคิด เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทางด้านสังคมและเทคโนโลยีจึงทำให้มีความจำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีในกิจวัตรประจำวันมากกว่าการสอนให้คิด


เอกสาร ตำรา ประกอบการศึกษาค้นคว้า
ภารดี  อนันต์นาวี.(2553) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่3
                ชลบุรี: สำนักพิมพ์มนตรี.
สัมมา  รธนิธย์.(2553) เอกสารคำสอนหลักทฤษฎีและการปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่2  
                กรุงเทพฯ: แอล ที เพรส.
สมาน อัศวภูมิ (2551)  การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 4
                อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, แนวโน้มการศึกษาไทยในครึ่งทศวรรษหน้า (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก  :
            http://learners. In.th/blog/jintana-eti 5301/246139 (วันที่ค้นข้อมูล 10 สิงหาคม 2553)
ปราโมทย์  ประสานกุล และคณะ, การเปลี่ยนแปลงประชากรไทยกับการศึกษา, (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก:
            http://witayakornclub.wordpress.com/ (วันที่ค้นข้อมูล 10  สิงหาคม 2553.) แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต ,(ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.thainame.net/weblampang/sutat101/ (วันที่ค้นข้อมูล 10 สิงหาคม 2553).
ธีระ  รุญเจริญ 2544  “สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาใน
                ประเทศไทยรายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ